RPA คืออะไร คำถามที่องค์กรหลายแห่งอยากรู้ เพราะในการแข่งขันของอุตสาหกรรมต่างๆ ยุคดิจิทัลที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การมีโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการทำงาน และปรับปรุงการทำงานขององค์กรให้แม่นยำ รวดเร็ว จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการแข่งขันมากขึ้น ในบทความนี้จะมาบอกเล่าว่า RPA คืออะไร และทำไมธุรกิจต้องมี
RPA คืออะไร
RPA คือซอฟต์แวร์โรบอต เป็นซอฟต์แวร์ที่เหมือนหุ่นยนต์อัจฉริยะ ออกแบบขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนการทำงาน มาเพื่อทำงานที่ซ้ำซ้อนและลดภาระการทำงานของมนุษย์ ทำให้กิจวัตรประจำวันและงานทั่วไปเป็นไปโดยอัตโนมัติ บอทเหล่านี้ได้ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบการกระทำของมนุษย์อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
RPA ทำงานอย่างไร
RPA คือการทำงานโดยการสังเกตและบันทึกการกระทำของมนุษย์หรือเป็นการเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ การกระทำเหล่านี้จะถูกแปลเป็นชุดของขั้นตอนเชิงตรรกะที่ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์สามารถทำซ้ำได้ เช่น การป้อนข้อมูล เปิดไฟล์ ตรวจสอบข้อมูลและสื่อสารกับระบบอื่นๆ โดยจะเป็นงานที่มีรูปแบบที่ตายตัว ไม่ซับซ้อนมาก เงื่อนไขไม่หลากหลาย มีกฏกำหนดตายตัว
ประโยชน์ของการใช้งาน RPA
1. ช่วยลดภาระการทำงานของบุคลากร ให้มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นที่สำคัญกว่า
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจาก Human Error ลดการแทรกแซงการทำงานของมนุษย์
3. การทำงานเร็วขึ้น บอทสามาถรทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันโดยไม่ต้องหยุดพัก
4. ประหยัดต้นทุนแรงงาน เพราะเมื่องานเยอะก็ต้องจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นแปรผันตามจำนวนงาน
5. ทำงานที่ซ้ำซาก และมีจำนวนมาก ใช้เวลาในการทำนานได้อย่างรวดเร็ว
แม้ว่า RPA จะมีข้อได้เปรียบมากมาย แต่การพิจารณาความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญ ข้อกังวลด้านความปลอดภัย การดูแลที่เหมาะสม และความจำเป็นในการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องระบุเมื่อนำ RPA ไปใช้ นอกจากนี้ องค์กรควรเลือกกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับระบบอัตโนมัติอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจาก RPA
Robotic Process Automation เป็นเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพในการปฏิวัติวิธีดำเนินธุรกิจ ด้วยการทำงานที่ซ้ำซ้อนและทำตามกฏที่ได้ตั้งไว้โดยอัตโนมัติ องค์กรจึงสามารถบรรลุประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้องค์กรประหยัดต้นทุน และทำงานได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง RPA จึงมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคตของกระบวนการทำงานทางธุรกิจ การเปิดรับ RPA เข้ามาช่วยทำงานให้กับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้